วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ จังหวัดราชบุรี
















การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ จังหวัดราชบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8


การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ระบบการจัดการเรียนการสอนต้องปรับเปลี่ยนไป จากการเรียนการสอนในห้องเรียน ไปเป็นการเรียนรู้แบบไม่จำกัดเวลาและสถานที่ (Any Time Any Where) ทำให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะจากระบบอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเน้นในด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา โดยคำนึงถึงความแตกต่างและความถนัดของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ โดยท่านผู้อำนวยการโรงเรียน นายสถาพร อภิวังโสกุล จึงมีนโยบายให้งานคอมพิวเตอร์พัฒนาด้าน ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหารงานของโรงเรียนในหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
1.จัดให้มีการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ม.1-ม.6 เป็นประจำทุกภาคเรียน และทุกปีการศึกษา
2.ติดตั้งระบบเครือข่ายแลน (LAN) และระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) ให้ครอบคลุมพื้นที่โดยรอบบริเวณโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนสามารถใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง เช่น บริเวณม้าหินใต้ร่มไม้ หรือศาลาพักผ่อนรอบบริเวณโรงเรียน ทำให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียนและสามารถพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
3.ติดตั้งระบบควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในเครื่องให้บริการ (Server) เพื่อคุมควบการใช้งานและคอยกำกับติดตามการใช้งานอินเทอร์เน็ตไปในทางที่มิชอบ เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
4.นำเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Note Book) ซึ่งได้มาจากงบประมาณตามโครงการไทยเข้มแข็ง ให้บริการยืมเรียนกับนักเรียนทุกคน เพื่อเป็นการเปิดโลกกว้างทางการศึกษา โดยนักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อบูรณาการความรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ได้
5.พัฒนาห้องสมุด ICT เพื่อให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูล และข่าวสารต่าง ๆ จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้ เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพตามความสามารถของตนเองได้เป็นอย่างดี

จากการส่งเสริม และสนับสนุนดังกล่าว ทำให้นักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นอย่างดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

การดำเนินงานชมรมสร้างเสริมสุขภาวะด้านการอนุรักษ์น้ำ ปีการศึกษา ๒๕๕๓
สภาพสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปราศจากมลพิษเป็นภาวะที่มนุษย์ทุกคนพึงปรารถนา แต่ภาวการณ์ในสังคมปัจจุบันเป็นภาวะที่สังคมเร่งรีบในการพัฒนา มีการเร่งใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างมากมาย อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแบบปัญหาลูกโซ่ติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องขยะและน้ำเสียยิ่งทวีความรุ่นแรงขึ้น การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เป็นกระบวนการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมจำเป็นต้องใช้พลังจากหลายส่วนเข้ามามีบทบาทในทุกระดับ ตั้งแต่การร่วมระดมสมองวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล การตรวจสอบ การรักษาหรือธำรงไว้ สำหรับภาวะวิกฤตของคลองดำเนินสะดวกในขณะนี้ก็คือ การเสื่อมโทรมและเน่าเสียของน้ำในคลองดำเนินสะดวก ซึ่งเกิดจากการทิ้งขยะ ทำให้มีสารปนเปื้อนในน้ำมากขึ้น การระบายน้ำเสียจากบ้านเรือน จากอุตสาหกรรมและจากการเกษตร ปัญหาการเจริญเติบโตของผักตบชวา การไหลถ่ายเทของน้ำในคลองดำเนินสะดวกมีน้อยลง จึงเป็นบ่อเกิดของการเน่าเสีย เพื่อแก้ไขบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมและเป็นการยกระดับคุณภาพของน้ำในคลองดำเนินสะดวก โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ จึงได้เข้าร่วมโครงการสร้างเสริมสุขภาวะแบบบูรณาการในการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการอนุรักษ์น้ำ อำเภอดำเนินสะดวก เพื่อเป็นการปลุกกระแสความรักถิ่นฐานบ้านเกิด การฟื้นฟูสภาพคลองดำเนินสะดวก ให้มีชีวิตชีวามีความสะอาด เกิดทัศนียภาพที่น่ามอง ให้สมกับเป็นคลองที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ โดยการสร้างนักเรียนแกนนำฯ ขยายเครือข่ายสมาชิกในโครงการฯ มีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ให้ทุกคนได้มีความตระหนัก รู้ถึงคุณค่าของสายน้ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแก้ไข/บำบัด/ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันให้เบาบางลงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมไทยในอนาคตแบบยั่งยืนตลอดไป ตามแนวทางการพัฒนาสายน้ำที่เป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทย ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์น้ำ
2.เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์น้ำในสถานศึกษา
3.นำองค์ความรู้ เรื่องการบำบัดน้ำเสียผ่านกระบวนการประชาสัมพันธ์ และการปฏิบัติในโรงเรียน และออกสู่ชุมชน
4.เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนแกนนำในการอนุรักษ์น้ำร่วมกับชุมชนบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาของกลุ่มเยาวชนเครือข่าย
5.เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สมาชิกมีจิตอาสา สร้างสรรค์กิจกรรมด้านการอนุรักษ์น้ำ

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รางวัล LSA AWARD




รางวัล LSA AWARD ในปี 2555

โครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน” เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่จะพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของชาติให้มีคุณภาพ ซึ่งในระยะเริ่มต้นโครงการกำหนดให้มีอำเภอละ ๑ โรงเรียน รวม ๙๒๑ โรงเรียน ปัจจุบันปี 2554 มีโรงเรียนในโครงการ 3 รุ่น รวมทั้งสิ้น 2626 โรงเรียน
เพื่ิือเป็นการขับเคลื่อนนโยบายและพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับเจตนารมณ์และนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลต่อคุณภาพโรงเรียนและผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนมุ่งพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม เตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาและการแข่งขันของประเทศ โดยเน้นการกระตุ้นและส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียน ครู ผู้บริหาร นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาขีดความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นไปตามจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 โครงการโรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีประจำอำเภอ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จึงเตรียมการดำเนินการประกวดผลงานหรือนวัตกรรมเพื่อรับรางวัล Lab School Award (LSA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ


วัตถุประสงค์
• เพื่อเชิดชูเกียรติครู ผู้บริหาร และบุคลาการทางการศึกษา ผู้อุปถัมภ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในโครงการโรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีประจำอำเภอ
• เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ประสบการณ์ในระดับโรงเรียน ทั้งผู้บริหาร ครู และนักเรียน
• เพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่ครู ผู้บริหาร และบุคลาการทางการศึกษาที่ได้ปฏิบัติงานและมีผลงานดีเด่น
• เพื่อส่งเสริมให้ครู ผู้บริหาร และบุคลาการทางการศึกษารักษาคุณสมบัติและหน้าที่ของตนจนเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
• เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่ครู ผู้บริหาร และบุคลาการทางการศึกษาทั่วไป เสริมสร้างศรัทธาและความเชื่อถือในวิชาชีพให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม


ประเภทของรางวัล Lab School Award (LSA)

รางวัล Lab School Award (LSPA) แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
ประกอบด้วย
1. รางวัล Lab School Teacher Award ( LSTA )
2. รางวัล Lab School Director Award ( LSDA )
3. รางวัล Lab School Institute Award ( LSIA )
4. รางวัล Lab School Supervisor Award ( LSSA )
5. รางวัล Lab School Pupil Award ( LSPA )

โรงเรียนในฝันก้าวไกล สิทธิเด็กไทย ก้าวไปสู่อาเซียน


โรงเรียนในฝันทั้ง 2626 โรงเรียน โดยรวมถึงโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล จะต้องเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 โครงการโรงเรียนในฝันจะมีการประชุมและแถลงข่าว " โรงเรียนในฝันก้าวไกล สิทธิเด็กไทย ก้าวไปสู่อาเซียน "

เชิณชาวโรงเรียนในฝันชม Logo โรงเรียนในฝันสู่ความเป็นอาเซียนได้

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสัมมนาเลขานุการศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยโรงเรียนในฝัน

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยโครงการโรงเรียนในฝัน โรงเรียนประจำอำเภอ ได้จัดอบรมสัมมนาเลขานุการศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยโรงเรียนในฝัน และบุคลากรทางการศึกษา ปีงบประมาณ 2554 ขึ้น เมื่อวันที่ 14-17 กุมภาพันธ์ 2554 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย เลขานุการศูนย์ฯภาษาไทย 112 ศูนย์ทั่วประเทศ และศึกษานิเทศก์ผู้ดูแลรับผิดชอบศูนย์ฯภาษาไทย จาก สพม. และ สพป. รวม 44 เขต การดำเนินงานครั้งนี้มีผู้เข้าอบรมสัมมนาทั้งสิ้น 163 คน แยกเป็นเลขานุการศูนย์ 111 คน ศึกษานิเทศก์ 37 คน และคณะทำงานโครงการ 15 คน ได้รับความอนุเคราะห์ด้านวิทยากรจากบุคคลภายในและภายนอกหน่วยงาน ดังนี้
1.ดร.อรทัย มูลคำ ที่ปรึกษาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
บรรยายเรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง กับพันธกิจของศูนย์แม่ข่ายจังหวัด
2.ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย
นายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย บรรยายเรื่อง การศึกษาภาษาไทยแนวใหม่
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันท์ ศลโกสุม ข้าราชการบำนาญ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว.ประสานมิตร
บรรยายเรื่อง การวัดและประเมินผลภาษาไทย
4.อาจารย์ณัฏฐกฤษฎิ์ อกนิษฐ์ธาดา ประธานกองทุนคีตวรรณกรรม บรรยายเรื่อง ทำนองวรรณกรรมไทยนี้ไพเราะ
5.คุณกนกวลี พจนปกรณ์ นักเขียน – นักวิชาการอิสระ บรรยายเรื่อง วรณกรรม : เวทีแห่งการสร้างสรรค์ความคิด
6.คุณนิเวศน์ กันไทยราษฎร์ นักเขียน – นักวิชาการอิสระ บรรยายเรื่อง สอนภาษาไทยให้สนุก มีความสุขและได้ผล
7.นางสาวจรินทร์ โฮ่สกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพม.1 กรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง ภาษาไทยกับ IT
8.นางสาวสิริมา หมอนไหม และ นางมัลลวีร์ รอชโฟล นักวิชาการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
บรรยายเรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยนและการดำเนินงานด้านสิทธิเด็ก
9.นางสาววิไลลักษณ์ ภู่ภักดี ข้าราชการบำนาญ สพป.ปทุมธานี เขต 2 และ นางสาวบุญญลักษณ์ พิมพา ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.กรุงเทพมหานคร ดำเนินการสัมมนากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ผลงานการสอนและผลการจัดอบรมครูภาษาไทย ของศูนย์

คำขอบคุณวิทยากร
คำขอบคุณ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล
กราบคุณครู ผู้เชี่ยวชาญ ด้านภาษา
ศาสตราจารย์กาญจนา นาคสกุล หนุนส่งเสริม
ได้เรียน รู้อักขรา พาเพิ่มเติม
มุมมองใหม่ พูนเพิ่ม ภาษาไทย
ร้อยเรื่องราว เรียบเรียง เรื่องเรียนรู้
คงค่าครู ผู้สร้างสรรค์ ให้ทันสมัย
หลอมรวมจิต ศิษย์คุณครู ผู้เกรียงไกร
น้อมดวงใจ ด้วยเคารพ โปรดปรบมือ
แต่งโดย นางรองรัตน์ จันทร์สนาม โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล จ. ร้อยเอ็ด
นางสุขุมาลย์ อนุเวช โรงเรียนจตุรพักตร์พิมานรัชดาภิเษก จ. ร้อยเอ็ด
นางกมลชน กรวยทอง โรงเรียนเชียงคาน จ. เลย

คำขอบคุณอาจารย์ณัฏฐกฤษฎิ์ อกนิษฐ์ธาดา
สุนทรียภาพพร้อม ธรรมรส
คีตวรรณกรรมกำหนด รื่นถ้อย
ร้อยรสร้อยความพจน์ พากย์เพิ่ม พูนเฮย
สมจินตนาการพร้อย พอกเนื้อนาบุญ
สาธิตจิตสว่างแจ้ง พึงจำ
ณัฏฐกฤษฎิ์พินิจคำ เพิ่มค่า
อกนิษฐ์ธาดาธรรม ยศยิ่ง
ครูภาษาไทยสว่างจ้า แจ่มแจ้งทำนองไทย
แต่งโดย.. นางพวงเพ็ญ เปล่งปลั่ง
โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม จ.ชัยนาท
คำขอบคุณ คุณกนกวลี พจนปกรณ์
กนกวลี กนกวจี กนกภาษา กนดวาจา กนกวิชา กนกสร้างสรรค์
งามความรู้ งามชื่นชู งามวงวรรณ เพื่อนครูทุกท่าน ชื่นชมทั้งหมด ได้โปรดปรบมือ
แต่งโดย มณีจันทร์ จิรวิโรจน์กุล
โรงเรียนสบเมยวิทยาคม จ. แม่ฮ่องสอน

คำขอบคุณ คุณนิเวศน์ กันไทยราษฎร์
เขาว่า....
ภาษาไทยเป็นวิชาที่น่าเบื่อ แต่เมื่อฟังคุณนิเวศน์วิเศษวิสัย
แนะแนวทางให้สืบค่าภาษาไทย ด้วยมุขใหม่มากมายหลายวิธี
สาระบันเทิงคุ้มค่าน่าจำจด เป็นแบบบทคมขำนำวิถี
สอนสนุก สุขร่า ทุกนาที ต่อแต่นี้ภาษาไทยไม่เบื่อแล้ว
ขอขอบคุณ ขอบคุณและขอบคุณ ที่มอบทุนทางปัญญาค่าดังแก้ว
จะนำไปปรับใช้ให้ตาแวว รักษ์ภาษาเพริดแพร้ว นิรันดร์กาล
แต่งโดย นายศิลป์ชัย สุหลง
โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จ.นครศรีธรรมราช

คำขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สุนันท์ ศลโกสุม

กว่าสิบปีที่เป็นครู พบผู้รู้ในวันนี้
สุดยอดความรู้ดี ค้นพบได้ในเร็วพลัน
สามวันที่ผ่านมา ก็คิดว่าเยี่ยมยอดชั้น
วันนี้สุดสำคัญ ผศ.ดร.สุนันท์ ยิ่งกว่าเมื่อวาน
วัดและประเมินผลภาษาไทย กระจ่างใจในแก่นสาร
พวกเราขอบคุณท่าน ใจประสาน..กราบขอบพระคุณ
แต่งโดย นางชุมศรี คุณยศยิ่ง
โรงเรียนจอมทอง จ. เชียงใหม่